มวยไทยสมัยโบราณ
ในการฝึกซ้อมมวยไทยในสมัยโบราณแม้จะไม่มีอุปกรณ์สำหรับฝึกซ้อมมวยไทยโดยเฉพาะดังเช่น ในปัจจุบัน แต่พื้นฐานการออกกำลังกายของนักมวยในแต่ละวันจะแฝงอยู่กับการเคลื่อนไหวเพื่อใช้แรงกายในการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นวิถีชาวบ้าน เช่น การหาบน้ำ กระเดียดน้ำ ผ่าฟืน ทำไร่ไถนา ตำข้าว วิ่งเล่นตามทุ่งนา ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้ได้ออกกำลังกายทุกวันร่างกายจึงแข็งแรงสม่ำเสมอ ส่วนอุปกรณ์ที่นำมาใช้ฝึกหัดมวยไทย จะเป็นของพื้นบ้านพื้นเมืองที่หาได้ง่ายและมีอยู่ทั่วไปในชนบท เช่น ต้นกล้วย ต้นมะพร้าว ผลมะนาว เป็นต้น
ฤาษีดัดตน 13 ท่าบท สำหรับการสร้างประสิทธิภาพพลวัตแห่งอำนาจไสยศาสตร์ในศิลปะมวยไทย
บันทึกของครูมวยไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการนำท่า 13 ใน 80 ท่าบทของฤาษีดัดตนที่บรรจุไว้ในจารึกวัดโพธิ์ (วัดเชตุพน กรุงเทพฯ) มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของจิตสรีระที่จะใช้สำหรับการฝึกฝนศิลปะมวยไทยโบราณ จนเป็นตำนานเล่าสืบๆกันมาในอีกหลายๆครูมวยไทยในรุ่นถัดมา เท่าที่สามารถรวบรวมได้จำนวน 13 ท่าแม่บท มีดังนี้
1. ยืดกายแบกฟ้า มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้เกียจกาย
2. วันทาขาเดียว มาจากแม่บทฤาษี ดัดตนแก้เข่า
3. เหนี่ยวเท้าค้ำเข่า มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ลมจันทรฆาฏ ลมเข่า ลมขา ลมหน้าอก
4. มือท้าวดันขา มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ตะคริว มือเท้า
5. กดกายาค้ำดิน มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้สะโพก สลักเพชร
6. เหยียบธรณินผลักโลก มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ไหล่ขัด สะโพกขัด
7. โยกเข่ายื้อมา มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ลมส้นเท้า
8. ก้าวท่ายักษ์กุมภัณฑ์ มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ไหล่ แก้ขา
9. เหนี่ยวกัณฐาดันเข่า มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้สลักไหล่
10. ศอกท้าวถ่างพับแข้ง มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ลมในขา
11. สำแดงท่ากบลีลา มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้เข่า ขาตาย
12. โอบหัตถารับเท้า มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้เท้าเหน็บ
13. สลับเข่ายื้อศอก มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ขัดแขน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น